เปิดเส้นทาง ‘ไทยเด็ด’ โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตที่พลิกฟื้นฐานราก ต่อยอดลมหายใจชุมชน พร้อมก้าวสู่ปีที่ 3 ให้ดีเด็ดกว่าเดิม

  มุมสินค้าไทยเด็ดที่ว่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการไทยเด็ด โครงการโชว์ความเป็นไทยที่มีชื่อโครงการโดดเด่นสะดุดใจ จดจำง่าย ซึ่งจะเป็น ‘ไทยเด็ด’ ที่สมชื่อหรือไม่ จะพาคุณออกสตาร์ทไปเยี่ยมชมความเป็นมาตั้งแต่ต้น พร้อมส่องหมุดหมายความตั้งใจในก้าวย่างปัจจุบันและอนาคต

 



2561 : ไทยเด็ด กับพันธมิตรทั้งหก

 โครงการไทยเด็ดเกิดขึ้นเมื่อปี 2561 จากการจับมือกันของ 6 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, ธนาคารออมสิน และโออาร์ ซึ่งมีแนวคิดสอดคล้องกันบนเจตนารมณ์ที่ว่า ‘ไทยเด็ด เด็ดที่ความคิดของคนไทยที่ช่วยเหลือกัน’ เพื่อร่วมสนับสนุนและผลักดันเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

 ด้วยบทบาทและความถนัดที่ไม่ซ้ำกันของพันธมิตรแต่ละราย จึงช่วยให้ไทยเด็ดมีมิติที่แข็งแกร่งรอบด้านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินงาน การสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับการผลิตสินค้า การเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆ ให้กับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการขนาดย่อม นอกจากนี้ยังมีการต่อยอด พัฒนา และแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าดีสินค้าเด่นประจำท้องถิ่นให้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในประเทศ และก้าวไกลถึงต่างประเทศในอนาคต ซึ่งมุมสินค้าไทยเด็ดที่ได้เห็นตามสถานีบริการน้ำมัน PTT Station นั่นคือแรงผลักดันจากหนึ่งในพันธมิตรอย่างโออาร์ หรือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่ดำเนินธุรกิจด้านน้ำมัน ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้ใช้จุดแข็งของจำนวนสถานี PTT Station ที่กระจายอยู่ 1,900 สาขาทั่วประเทศ มาเป็นช่องทางการจำหน่ายให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ผ่านการคัดสรรจากหน่วยงานพันธมิตรแล้วว่าเป็น ‘สินค้าดี สินค้าเด็ด’



พาสินค้าไทยขยายตลาดสู่ต่างประเทศ

  จากวิสัยทัศน์ขององค์กรในการเป็นแบรนด์ไทยชั้นนำระดับโลกที่สร้างคุณค่าให้กับชุมชน โออาร์จึงไม่หยุดแค่การเพิ่มช่องทางจำหน่ายให้กับสินค้าดี สินค้าเด็ดของชุมชนภายในประเทศ ทว่ายังได้พาผลิตภัณฑ์ชุมชนไปวางจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยใช้ทักษะความเชี่ยวชาญที่มี จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในหลากหลายรูปแบบอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้คนทั่วไปรู้จักและสนใจเลือกซื้อสินค้า เช่น จัดงาน ‘ไทยเด็ด Matching Day’ ที่เปิดโอกาสให้วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการขนาดย่อมได้มีโอกาสนำเสนอสินค้าโดยตรงให้กับผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน PTT Station โดยปัจจุบันได้มีการจัดงานแล้วรวม 5 ครั้ง



สินค้าดี สินค้าเด็ดที่ต้องโดน

  ระหว่างทางของโครงการไทยเด็ด เราจะได้เห็นสินค้าจากวิสาหกิจชุมชนที่ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งใน ‘มุมสินค้าไทยเด็ด’ ของแต่ละสถานีบริการน้ำมันจะคัดสรรสินค้าที่แตกต่างกันมาวางจำหน่าย โดยมีผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเป็นตัวแทนในการคัดเลือกสินค้าที่เหมาะสมกับท้องที่นั้นๆ มานำเสนอให้ผู้คนได้ช้อปปิ้งกัน ในที่นี้มีอยู่ 3 สินค้าเด็ดดวงที่ถูกถามหามากที่สุด เรียกได้ว่าเป็นสินค้าดี สินค้าเด็ดที่ต้องโดน ได้แก่



1.กระเทียมดำ B-Garlic : OTOP ลำพูนส่งเข้าประกวด มาจากกระเทียมไทยพื้นบ้าน บ่มด้วยนวัตกรรมทันสมัย จนได้เป็นกระเทียมดำที่มากด้วยคุณค่าทางอาหารมากกว่ากระเทียมทั่วไปถึง 13 เท่า ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมที่เคยประสบกับราคากระเทียมตกต่ำจนสิ้นเนื้อประดาตัว ให้กลับมามีรายได้และอาชีพที่มั่นคง ทั้งยังเกิดการจ้างงานภายในชุมชนและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการไทยเด็ด ผู้ประกอบการกระเทียมดำ B-Garlic ยืนยันว่ายอดจำหน่ายสูงขึ้น จาก 10 ตัน เป็น 20 ตันต่อเดือน



2.กระเป๋ากระจูด ช่วยชาวใต้ : ผลิตภัณฑ์จากต้น ‘กระจูด’ จากฝีมือชาวบ้านแถบป่าพรุทางภาคใต้ของประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากการนำมาจักสานเป็นของที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ยังเติมความสวยงามด้านแฟชั่นให้ถูกใจคนรุ่นใหม่มากขึ้น ยืนยันได้จากเสียงของผู้ประกอบการที่คัดสรรกระเป๋ากระจูดไปจำหน่ายยังมุมสินค้าไทยเด็ดที่กล่าวว่า หลังจากกระเป๋ากระจูดเข้าโครงการนี้และมีโออาร์ช่วยประชาสัมพันธ์ ทำให้สินค้ามียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว ปัจจุบันมีการรับซื้อกระเป๋ากระจูดจากชาวบ้านมากขึ้น ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และที่สำคัญ เป็นการต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้านของไทยไม่ให้สูญหายตามกาลเวลา


3.ผัดไทยภูเขาไฟ : ผัดไทยรสเด็ด จากสูตรลับความอร่อยก้นครัวของครูกานต์ อดีตแม่พิมพ์ของชาติที่ผันตัวมาเปิดร้านผัดไทยเล็กๆ ริมทาง โดยมีสูตรเด็ดจากครอบครัวที่ส่งต่อมาถึงครูกานต์ คือ ผัดไทยหมี่กรอบส้มซ่า หอมอร่อยไม่เหมือนใคร ในขณะเดียวกันก็ยังได้บอกเล่าท้องถิ่นบุรีรัมย์ด้วยการนำวัตถุดิบอย่างข้าว, หอม, กระเทียม, พริก, ส้มซ่า, กุยช่าย, น้ำตาลอ้อย ที่ปลูกบนดินภูเขาไฟมารวมเป็นผัดไทย 1 จาน จึงเรียกว่า ผัดไทยภูเขาไฟ และมีการพัฒนามาเป็นผัดไทยกึ่งสำเร็จรูปให้ง่ายต่อการบริโภคกับคนในท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งหลังจากที่สินค้านี้เข้าโครงการไทยเด็ดและมีโออาร์ช่วยส่งเสริมการตลาด ทำให้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น จาก 10,000 ซองต่อปี เป็น 480,000 ซองต่อปี และมีการขยายเครือข่ายชุมชนผัดไทยภูเขาไฟที่ส่งวัตถุดิบให้ทางโรงงานเพิ่มขึ้น จากเดิม 8 ชุมชน เป็น 20 ชุมชน


2563 : ไทยเด็ด ต้อนรับพันธมิตรรายใหม่

เมื่อเป็นโครงการที่ตั้งต้นจากเจตนารมณ์ที่ดี ทำให้ไทยเด็ดมีพันธมิตรเข้ามาร่วมเดินทางและเติบโตไปด้วยกันอีก 1 ราย คือ สมาคมเพื่อนชุมชน หน่วยงานที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด ที่มีเจตนารมณ์สอดคล้องกับพันธมิตรดั้งเดิมของไทยเด็ดในการยกระดับคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการวางรากฐานอาชีพเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบันสมาคมเพื่อนชุมชนมีวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ จ.ระยอง ได้ให้การดูแลและพัฒนาแล้วหลายผลิตภัณฑ์ เช่น อาหารทะเลแปรรูป ผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ผ้าหมักจากน้ำนมข้าว เป็นต้น 

 

ปัจจุบันและอนาคต : ไม่หยุดพัฒนา สร้างเครือข่ายชุมชน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โครงการไทยเด็ดเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามความเชื่อมั่นของกลุ่มพันธมิตรผู้ก่อตั้งโครงการที่อยากให้โครงการนี้ ‘เติบโตไปด้วยกัน’ กับสังคมและชุมชนไทย และสร้างการมีส่วนร่วม จวบจนนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน คือการสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ระบุว่า เปลี่ยนเป็น มีวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมโครงการฯ กว่า 200 ราย และในการก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 นี้ โออาร์และกลุ่มพันธมิตรให้คำมั่นสัญญาว่าจะยังคงเดินหน้า ‘โครงการไทยเด็ด’ อย่างต่อเนื่องและไม่หยุดยั้ง เพื่อกระจายความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไปสู่ชุมชนใหม่ๆ และช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐานและก้าวไกลสู่ระดับสากล 

 

สมชื่อโครงการไทยเด็ด เพราะเด็ดที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตและอนาคตที่สดใสให้สังคมชุมชนไทยแบบเห็นเป็นรูปธรรม จับต้องได้จริง